ถอนเงินผู้ตายจากธนาคารยุ่งยากมาก

ถอนเงินผู้ตายธนาคารจะออกกฏยุ่งยากอะไรขนาดนี้

พ่อจากไปปีกว่าแล้ว อินนาลิลลาฮ์ วะอินนาอิลัยฮิรอญีอูน แต่เงินพ่อในบัญชีธนาคารออมสิน 2,000 บาท ยังถอนออกมาไม่ได้ตั้งแต่ COVID-19 รอบที่แล้วจนถึงโควิดรอบนี้ไปทำเรื่องเมื่อวานยังไม่ได้อีกตามเคย ธนาคารจะออกกฏให้มันยุ่งยากลำบากมากมายทำไมก็ไม่รู้

 

### อัพเดดข้อมูล  ปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ###

วันนี้มาอัพเดดว่าได้ทำการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว เป็นการรับมรดก

เหงื่อตกว่าจะได้เงิน

สรุปว่า :

เดินทางไปธนาคาร 4 ครั้ง (วันแรก 2 ครั้ง เพราะไม่รู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง)

เสียเวลาเดินทางจาก กทม. 3 ครั้ง คิดค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ครั้งละ 2,000 บาท นั่งรถทัวร์ไปกลับและค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทาง  ก็เสียบไป 6,000 บาท

ลางานไป 3 วัน (ถ้าคนได้เงินเดือนรายวันซวยเลย รายได้หายไปอีก 3 วัน)

เบิกเงิน 2,000 บาท แต่เสียไปเยอะกว่าเงินที่จะเบิกอีก ถามว่าคุ้มไม่ ไม่ต้องพูดถึง ที่ดันด้นเบิกเพราะเจ็บใจกับกฏ

แนะนำให้ทำผู้จัดการมรดกเสียตั้งแต่เนิน ๆ จะดีที่สุด เสียเงินพอ ๆ แต่ไม่ต้องขึ้นลง ๆ หลายรอบ (เหตุผลที่ผมไม่ได้ทำ อ่านได้จากความเดิมตอนที่แล้ว ผมอยากทำนะแต่สถานกาณ์พาไป)

ทำผู้จัดการมรดกไม่ต้องมีคนค้ำประกัน แต่ถ้ามีแค่หนังสือรับรองจากอำเภอ ยังไงก็ต้องมีคนค้ำ เพราะธนาคารไม่ยอมปล่อย ยืนหนึ่งว่าต้องมีคนค้ำ ไม่มีคนค้ำไม่ให้ปิดบัญชี

ที่เข้าใจน่าจะเกี่ยวกับรับมรดกอะไรประมาณนี้ (แต่ก็แหม่เนอะ เงินเป็นหมื่นเป็นแสนก็ว่าไป)

*** อ่อ คนค้ำต้องพาสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรข้าราชการ ไปด้วยนะครับ ***

 

*** ขอบ่นอีกน่อย ***

วันนั้นผมลืมบอกเพื่อน ก็เลยลำบากต้องไปคัดลอกสำเนาทะเบียนบ้านที่เทศบาลอีก ไม่เข้าใจเนอะเอาเอกสารอะไรมากมาย

กลัวโดนผมโกงหรือไงไม่รู้ เอกสารที่ผมยื่นก็เอกสารจริง ถ้ามีคนมาแอบอ้างเป็นทายาทแล้วหาว่าผมโกง ผมไม่เชื่อว่าธนาคารจะหาตัวผมไม่เจอ

หรือจะไปจัดการคนค้ำแทน ธนาคารก็เลยเอาหมดทั้งสำเนาบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านคนค้ำและหนังสือค้ำที่ต้องวางทรัพย์สินไว้จำนวนหนึ่งซึ่งเยอะพอสมควร เฮ้อออปวดหัวจริงๆ

**** ธนาคารธ.ก.ส. ผมไปเบิกเงินหลักหมื่น ต้องมีคนค้ำ ผมก็เข้าใจ แต่เอาเอกสารแค่สำเนาบัตรข้าราชการ ไม่เอาสำเนาทะเบียนบ้านนะ ที่นั่นไปทำธุรกรรมเสร็จก่อนไปออมสิน ****

*** คนค้ำคนเดิมบังเอิญวันนั้นมาประชุมในเมืองพอดีช่วงพักเที่ยงก็เลยขอมาช่วยค้ำประกันที่ ธกส ได้ ***

 

หรือใครที่ได้อ่านบทความนี้ก็เตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนไปทำธุรกรรมกับธนาคารจะดีมาก ๆ จะได้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากเหมือนผม

นึกถึงตาสีตาสา คนอยู่เกาะหรืออยู่ไกล ๆ ข้ามน้ำข้ามทะเล อุตสาห์เข้าเมืองแต่ละทีดันมาเจอกฏข้อนี้ไปผมนึกไม่ออกว่าเขาจะมาทำจนเสร็จไหมในเมื่อเสียค่าใช้จ่ายเยอะกว่าเงินที่จะเบิกซะอีก

แล้วสุดท้ายเงินก็คงอยู่ในธนาคารไม่มีใครอยากเบิก

 

ต้องขอบคุณเพื่อนผมจริง ๆ ที่ยอมมาค้ำประกันให้ผม พอดีเพื่อนเป็นครู แล้ววันที่มาค้ำเป็นช่วงปิดเทอม มีธุระเข้าเมืองพอดีเลยโทรหาผมบอกว่าถ้าวันนี้ผมมาธนาคารได้ เขาจะค้ำประกันให้

ผมนี้รีบลางานแบบอีเมอร์เลย ทันทีทันด่วน เพราะหากพลาดโอกาสนี้ไม่รู้เมื่อไหร่จะทำเรื่องนี้เสร็จ รีบลางานบึ่งไปธนาคารเลย เพราะธนาคารไม่ได้อยู่ในห้าง ต้องทำในวันเวลาซึ่งตรงกับเวลาราชการ

 

เพื่อนก็มาจากอีกอำเภอยอมมาช่วยค้ำประกันให้ ขอเอ่ยชื่อหน่อยละกัน อับดุลกาหรีม รอเกต ซึ่งในน้ำใจจริง ๆ ยอมรอจนทำธุรกรรมเสร็จและอยู่ต่อช่วยผมทั้งประกันสังคมและอื่น ๆ ในวันนั้น เพราะถ้ามีอะไรจะต้องค้ำอีกเขายินดีช่วย ขับรถไปส่งบ้านไปรับเอกสารและไปทำธุระในเมืองจนเสร็จ นี่ถ้าเพื่อนไม่ปิดเทอมก็คงจะไม่ได้มาช่วยหรือต้องรอโอกาสเหมาะๆ จริงๆ




################################### ความเดิมตอนที่แล้ว ########################################

เงินก็ไม่เยอะอะไรมากมายแค่ 2,000 บาท ต้องหาคนค้ำประกันอีก ที่พีกสุด ๆ คนค้ำต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น บ้าไปแล้ว ออกกฏอะไรไม่สนใจลูกค้าเอาเสียเลย ถ้าเงินเยอะก็ว่าไปต้องมีคนค้ำเข้าใจได้อยู่

เงินนิดหน่อยแบบนี้แหละถ้ามีเคสแบบนี้หลาย ๆ เคส ถอนเงินออกมาไม่ได้ ใครได้ประโยชน์ ธนาคารล้วนๆ ที่ได้ประโยชน์

ธนาคารออมสิน Government Savings Bank

สมุดฝากเงินออมสิน ประเภทเผื่อเรียก Savings Deposit Passbook

 

สมมุติมีเคสแบบนี้สัก 100 ราย
2,000 x 100 ราย = 200,000 บาท เยอะอยู่นะที่ธนาคารได้ประโยชน์เต็ม ๆๆๆๆๆ

 

เท่าที่ลองค้นหาข้อมูลก็มีคนเจอลักษณะแบบนี้หลายรายอยู่นะ

ตอนเปิดบัญชีก็ง่ายเนอะแต่พอถอนออกโครตยากยิ่งกว่ายากจะบอกให้

เข้าใจถึงความรอบคอบของธนาคารที่จะเซฟตัวเอง แต่คุณควรมองดูลูกค้าบ้างไหม เงินเยอะขนาดไหนควรค้ำ เงินขนาดไหนควรอะลุ่ม อล่วยกันบ้าง

ธนาคารสนใจแต่ตัวเองแต่ไม่เคยสนใจลูกค้าแบบนี้มันก็ไม่แฟร์นะผมว่า บางคนจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ พวกคุณไม่เห็นใจกันบ้างเลยหรือ

สงสารคนอืน ๆ ที่ต้องมาเจอสถานการณ์กับกฎบ้าบออะไรแบบนี้ ถ้าครอบครัวไหนลำบากหวังพึ่งเงินก้อนสุดท้ายของพ่อในบัญชีที่มีเพื่อมาประทังชีวิตนี่ คงน่าสงสารน่าดู

 

ก็มีคำแนะนำให้ไปทำเรื่องผู้จัดการมรดกจะจัดการอะไรต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ตอนแรกก็จะไปทำเรื่องแล้วแต่ทางทนายบอกไม่จำเป็นเพราะเราไม่มีอะไรที่ต้องจัดการต่ออีก แค่เงินในธนาคารบัญชีเดียว

เงินในธนาคาร 2,000 บาท ถ้าไปทำเรื่องผู้จัดการมรดก ค่าใช้จ่าย 5,000 – 10,000 บาท  มันคุ้มไหม คือว่าผมต้องยอมเสียงเงิน 5,000 บาทเพื่อแลกกับเงิน 2,000 บาทเนียะนะ

แต่ถ้าไม่ถอนก็อย่างที่บอกธนาคารได้ประโยชน์เต็ม ๆ ส่วนเราก็ได้แต่นั่งมองด้วยความเจ็บใจ เอาออกมาไม่ได้

ไอที่ติดใจสุด ๆ คนค้ำต้องเป็นข้าราชการ ผมอยากรู้จริง ๆ คนไหนที่ออกกฏข้อนี้มาทำให้ลูกค้าหลายรายต้องลำบากยุ่งยากขนาดนี้

รู้ด้วยนะว่าคนค้ำเป็นข้าราชการ แต่ยังดื้อด้านให้นำเขามาเซ็นค้ำประกันในเวลาราชการ แล้วคนค้ำไม่ต้องทำงานกันหรือครับคร๊าาาาาาาบ ต้องลางานในเวลาราชการมาเซ็นค้ำประกัน แล้วไม่ใช่ว่าใช้เวลาแค่ 5 – 10 นาทีซะหน่อย คุณเอาอะไรคิดที่ออกกฏนี้ คนที่ไม่ใช่ข้าราชการมันค้ำประกันไม่ได้เลยหรือผมงงจริงๆ งงมาก ๆ งงในดงงงงเอามาก ๆ  (ขอบ่นหน่อยกับระบบแบบนี้)

เดี๋ยวมาบ่นต่อ มียาว ๆ บนคนเดียวแม้ไม่มีใครอ่านก็ตาม บ่นให้ Google รับฟัง เผื่อจะไปถึงหูพวกออกกฏบ้าบอแบบนี้ได้คิดถึงความลำบากของลูกค้าบ้าง

 

รายการล่าสุด 31/12/2562  ให้ธนาคารอัพเดดสมุดเงินฝาก มีเงินสองพันกว่าบาท

จากวันนั้นจนถึงวันนี้จะสิ้นปีอีกแล้ว เงินก็ยังอยู่ดีในบัญชี เพราะเอาออกยังไม่ได้

เงินไม่เยอะหรอก แค่ติดใจกฏของธนาคารที่ต้องให้ข้าราชการเท่านั้น มาค้ำประกัน

 

หลังพบสมุดเงินฝากของพ่อ

  • 31/12/2562  ไปธนาคารเพื่อสอบถามและปรับสมุดบัญชีเงินฝาก (ช่วงเช้า)
  • ธนาคารแจ้งให้ทราบว่าต้องนำเอกสารอะไรมาบ้าง หลังดูสมุดเงินฝากแล้ว ยอดเงินไม่เยอะ คงไม่ต้องมีคนค้ำประกัน (พนักงานผู้ชาย)
  • ธนาคารแนะนำให้ไปทำเรื่องผู้จัดการมรดกจะได้ง่ายต่อการดำเนินการในทุก ๆ เรื่อง
  • ไปที่ศาลเพื่อติดต่อเรื่องผู้จัดการมรดก
  • เจ้าหน้าที่แนะนำให้ไปติดต่อสำนักงานอัยการคดีเยาชนและครอบครัว (เพราะถ้าให้ทางนี้จัดการเรื่องจะเสร็จเร็วกว่าเราดำเนินการเอง)
  • เข้าพบอัยการหรือทนายผมจำไม่ได้ อธิบายเรื่องราวทั้งหมด (ผมขอเข้าใจว่าพบอัยการไว้ก่อนนะครับ)
  • ทางอัยการแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องทำเรื่องผู้จัดการมรดก เพราะผมเป็นลูกคนเดียวและไม่มีทรัพย์สินอะไรจะให้จัดการมากมาย
  • กลับไปที่ธนาคาร (ช่วงบ่าย) พบพนักงานธนาคารผู้ชายคนเดิม และบอกเล่าเรื่องที่ได้ไปพบอัยการ
  • ทางพนักงานธนาคารแนะนำให้ไปทำเรื่องสืบสวนทายาทที่อำเภอก่อน ได้หนังสือรับรองแล้วค่อยมาทำเรื่องเบิกเงิน
  • ไปอำเภอเพื่อทำเรื่องสืบสวนทายาท อำเภอรับเรื่อง แต่หนังสือไม่ได้วันนั้นนะ ต้องแปะประกาศอย่างน้อย 1 เดือน หากไม่มีใครมาคัดค้านก็จะออกหนังสือรับรองให้ หมดไป 1 วันพร้อมวันลาพักร้อน (ร้อนจริง ๆ แทบไม่ได้พัก)
  • เดินทางกลับกรุงเทพ รอหนังสือรับจากอำเภอ แถมติดสถานะการณ์โควิด-19 รอไปยาว ๆ
  • หลังได้กลับบ้าน ไปรับหนังสือรับรองที่อำเภอ
  • ไปธนาคารพร้อมเอกสารพร้อมทุกอย่างแล้ว (ในใจคิดว่าได้เบิกเงินละ จบ ๆ กันสักที ใช้วันลาพัก 2 วันแล้วกับเบิกเงิน 2,000 บาท)
  • พอจะทำเรื่องเบิก พนักงานสาวสวยของธนาคารตรวจเช็คเอกสารทุกอย่างพร้อมครบถ้วน แล้วหันมาถาม ไหนคนค้ำประกัน (ผมและภรรยาก็ตกใจซิครับ ต้องใช้คนค้ำประกันด้วยหรือครับ)
  • สรุป พนักงานสาวสวยไม่ยอมให้เบิก บอกว่ายังไงก็ต้องไปเอาคนค้ำประกันมา และต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น (พูดประมาณว่า ฉันทำเรื่องพวกนี้มานานหลายปีแล้ว ขั้นตอนต้องเป็นแบบนี้)
  • ยังบอกอีกประมาณว่า คุณต้องรีบมาเช้า ๆ นะ ธนาคารเปิดต้องได้คิวแล้ว ไม่งั้นคนเยอะแล้วจะต้องรอนาน คนค้ำอาจจะอยู่กับคุณนานไม่ได้
  • ผมนี้อืมมมมนึกในใจ คุณก็รู้นี้ว่าคนค้ำเขาก็ต้องไปทำงาน แล้วจะให้มารอค้ำประกันในเวลาราชการที่เค้าเองก็ต้องทำงานเนี๊ยนะ กฏบ้าบ้ออะไรที่ต้องเลือกเฉพาะข้าราชการ
  • สรุปอีกที ไม่ได้ถอนเงิน หมดไปอีกวัน ต้องรอโอกาสกลับจากรุงเทพและต้องลางานอีกวันเพื่อมาทำเรื่องเบิกเงิน 2,000 บาท
  • ผมโทรสอบถามคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารออมสินและแจ้งความประสงค์ว่าจะถอนเงินพ่อที่เสียชีวิตแล้วออกจากบัญชี
  • คอลเซ็นเตอร์แจ้งว่า คนค้ำประกันไม่ได้เป็นกฏแต่เป็นดุลยพินิจของแต่ละสาขา อ้าวววสรุป มันคืออะไร
  • ผมยังถามอีกว่าแล้วอย่างนี้ไปเบิกที่สาขาอื่นได้ไหม ผมไม่สะดวกที่สาขานี้ เพราะทางสาขายืนยันว่าจะต้องมีคนค้ำประกัน
  • คอลเซ็นเตอร์แจ้งว่าสามารถไปทำเรื่องที่สาขาไหนก็ได้
  • ผมต้องขึ้นกรุงเทพจึงนำเอกสารทั้งหมดไปทำเรื่องต่อที่กรุงเทพ
  • ไปติดต่อธนาคารออมสิน สาขาหนึ่ง ที่กรุงเทพ ขอเบิกเงินพ่อที่เสียชีวิตไปแล้ว
  • พนักงานสาวสวย แจ้งว่า ไม่สามารถทำเรื่องได้ ต้องกลับไปทำเรื่องที่ต้นสาขาที่พ่อเปิดบัญชีเท่านั้น (เอ้าแล้วววววววววกรู………. แค่ค่าเดินทางกลับก็หมดละ 2,000 ไหนต้องลางานอีก)
  • พนักงานยังแจ้งว่ามันเป็นกฏของธนาคารต้องนำคนค้ำประกันไปด้วยและต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น (แทงใจกรูอีกแล้ว นี่ต้องหาคนค้ำประกันให้ได้ก่อนนัดกันดี ๆ และกรูต้องเสียวันลาพักร้อนไปอีก 1 วันแน่ๆ)

คือเข้าใจนะว่าพนักงานธนาคารพยายามปกป้องตัวเองและธนาคารจากความผิดพลาด แต่ถามหน่อยเถอะถ้ามีเงินในบัญชี 100 200 300 ก็คือต้องหาคนค้ำประกันที่เป็นข้าราชการเท่านั้นใช่ไหม

ไม่มีอะลุ่ม อล่วยกันเลยใช่ไหม นี่ผมจะต้องเสียวันลาพักร้อนอย่างน้อย ๆ 3 วันกับเบิกเงิน 2,000 บาท และ คนค้ำประกันก็อาจจะต้องพลอยมาลางานเพื่อมาค้ำประกัน

วันลาพักร้อนเสียไปคิดเป็นค่าจ้างรายวันที่ผมได้รับก็น่าจะเกิน 2,000 บาท

ไหนจะค่าเดินทางไปกลับกรุงเทพต่างจังหวัดรอบละไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท

สรุปแม่งจะเบิกเงินในบัญชี 2,000 บาทได้ต้องเสียมากกว่าจะได้รับเสียอีก มันน่าเจ็บใจไหมหละ จะไม่ถอนออกก็ช้ำใจ ช้ำใจกับกฏคนค้ำประกันจริงๆ

แล้วทำไมไม่ทำเรื่องผู้จัดการมรดกตั้งแต่แรกหละ (ไล่กลับไปอ่านใหม่ ผมจะทำแล้ว พบอัยการแล้วด้วย ซึ่งตอนนั้นไม่จำเป็น)

และอีกอย่าง ค่าดำเนินการ 5,000 บาทอัพ

ใครจะไปรู้ว่าทำไปทำมาธนาคารเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าซะอีก




 




ไม่แฟร์กับลูกค้าจริง ๆ ที่จะเบิกเงินแค่ 2,000 บาท กลับต้องควักเงินไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทไปแลกมา นี่ผมพูดถึงคนอื่น ๆ ด้วยนะที่เจอสถาณการณ์เดียวกัน

ผมเชื่อว่ามีและอาจจะมีเยอะด้วย ทางธนาคารควรพิจารณาตัวเองได้แล้ว อย่าเอาแต่ปกป้องตัวเองจนไม่สนใจความยากลำบากของลูกค้าที่ต้องพบเจอ

 

คลิกแชร์ได้เลยShare on Facebook
Facebook
Tweet about this on Twitter
Twitter
Share on LinkedIn
Linkedin

แสดงความคิดเห็นกันได้ครับ

comments